รู้หรือไม่ อาชีพนักสืบเอกชน มีหน้าที่อะไร ? และความเสี่ยงเวลาทำงานมีอะไรบ้าง ?

รู้หรือไม่ อาชีพนักสืบเอกชน มีหน้าที่อะไร ? และความเสี่ยงเวลาทำงานมีอะไรบ้าง ?
รู้หรือไม่ อาชีพนักสืบเอกชน มีหน้าที่อะไร ? และความเสี่ยงเวลาทำงานมีอะไรบ้าง ?

สำนักงานนักสืบเอกชน นอกจากจะรับจัดการปัญหาที่คลี่คลายไม่ได้ อย่างที่คนทั่วไปทราบกันดีแล้ว ยังมีงานบางประเภท ที่เราสามารถรับผิดชอบได้เช่นกัน แต่หลายคนอาจยังไม่ทราบ และไม่แน่ใจว่า อาชีพนักสืบเอกชน สามารถทำได้หรือไม่ ? ซึ่งวันนี้ เราจะพาทุกท่านไปไขข้อข้องใจกัน

1. ขอบเขตอาชีพนักสืบเอกชน มีหน้าที่รับผิดชอบอะไรบ้าง ?

1.1 วางแผนสืบคดี

สำหรับอาชีพนักสืบ คุณสมบัติสำคัญที่ต้องมี คือการรู้จักวางแผนสืบคดี เพื่อให้สามารถสืบหาความจริง และได้พยานหลักฐาน เพื่อยืนยันข้อเท็จจริงได้ในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งการวางแผนที่ดี ย่อมช่วยให้งานมีโอกาสประสบความสำเร็จได้เกือบ 100%

1.2 ค้นหาข้อมูลออนไลน์

เพราะเทคโนโลยี ได้เข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ข้อมูลจำนวนมหาศาล หลั่งไหลเข้ามาอยู่ในโลกออนไลน์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นนักสืบออนไลน์ จึงมีหน้าที่สำคัญในการสืบหาข้อมูลในส่วนนี้

1.3 สะกดรอยเป้าหมาย

อาชีพนักสืบเอกชน มีหน้าที่รับผิดชอบอะไรบ้าง
อาชีพนักสืบเอกชนมีหน้าที่รับผิดชอบอะไรบ้าง

นักสืบมีหน้าที่อะไรอีกบ้าง ? หนึ่งในภาพจำของนักสืบจากภาพยนตร์ ที่หลายคนคุ้นเคยกันดี คือการสะกดรอยตามเป้าหมาย เพื่อให้เห็นพฤติกรรมต้องสงสัย และเพื่อให้มีหลักฐานที่ผู้ว่าจ้างต้องการ รวมทั้งยังอาจพาไปสู่บุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย

1.4 ติดตามบุคคลที่สาม

นอกจากตัวเป้าหมายเองแล้ว บุคคลที่สามที่มีส่วนเกี่ยวข้องในคดีนั้น ๆ อย่างเช่น มือที่สามในคดีสืบชู้สาว, หุ้นส่วนธุรกิจที่มีส่วนฉ้อโกง หรือบุคคลที่ช่วยในการหลบหนี ต่างก็เป็นจิ๊กซอว์สำคัญ ที่จะช่วยให้นักสืบ สามารถปิดคดีได้อย่างสมบูรณ์

1.5 แฝงตัวหาแหล่งข่าว

อีกหนึ่งบทบาทประจำของอาชีพนักสืบ คืออาชีพนักแสดง ที่หลายครั้งเนื้องาน บังคับให้นักสืบต้องปลอมตัว เพื่อแฝงตัวเข้าไปในสถานที่ต่าง ๆ เช่น ไนต์คลับ, ร้านอาหาร, โรงแรม ซึ่งจะทำให้ได้คุยกับคนวงใน ที่มีโอกาสเห็นเหตุการณ์สำคัญ ซึ่งอาจส่งผลดีต่อการคลี่คลายคดี

1.6 หาหลักฐานที่เกี่ยวข้อง

อาชีพนักสืบเอกชน มีความเสี่ยงไหม?
อาชีพนักสืบเอกชนมีความเสี่ยงไหม?

แน่นอนว่า นอกจากการติดตามสืบพยานบุคคลแล้ว นักสืบมีหน้าที่อะไรที่เกี่ยวข้องกับการค้นหาพยานหลักฐานด้วย เช่น กรณีของการสืบทางธุรกิจ เพื่อให้ได้ข้อมูลการทุจริต, การสืบข้อเท็จจริง ก่อนตกลงร่วมมือทางธุรกิจ เป็นต้น

1.7 ตามหาบุคคลสูญหาย

การสืบหาบุคคลที่สูญหาย ทั้งกรณีการหายตัว, ถูกลักพาตัว, หนีหนี้, หลบหนีหมายจับ ล้วนแล้วแต่เป็นขอบเขตงาน ของอาชีพนักสืบเอกชนเช่นกัน เพราะบางครั้งญาติอาจแจ้งความกับการเจ้าหน้าที่รัฐแล้ว แต่ต้องการความร่วมมือจากหลายทาง นักสืบเอกชนจึงเข้ามามีบทบาทในส่วนนี้ ซึ่งจะมีประสิทธิภาพกว่าการตามสืบเองแน่นอน

2. ความเสี่ยงเวลาทำงาน ของอาชีพนักสืบ คืออะไรบ้าง ?

ความเสี่ยงเวลาทำงาน ของอาชีพนักสืบ คืออะไรบ้าง ?
ความเสี่ยงเวลาทำงาน ของอาชีพนักสืบ คืออะไรบ้าง ?

2.1 ทางร่างกาย

  • ถูกกักขังหน่วงเหนี่ยว
    หลายครั้งที่นักสืบ ต้องเข้าไปพัวพันกับกลุ่มผู้มีอำนาจ หรือผู้มีอิทธิพลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งหากนักสืบไม่ระมัดระวังเพียงพอ อาจถูกจับ หรือนำไปกักขัง เพื่อเค้นเอาความลับ และสืบหาจนถึงผู้ว่าจ้างได้
  • ถูกทำร้ายจนบาดเจ็บ
    นอกจากนี้ นักสืบมีหน้าที่อะไรหลายอย่าง ที่ค่อนข้างสุ่มเสี่ยง ต่อการถูกทำร้าย ตั้งแต่ขั้นตบตี ไปจนถึงระดับที่ถูกทำร้ายบาดเจ็บสาหัส แต่นั่นอาจเป็นเหตุที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก เพราะนักสืบที่ดี ย่อมมีคุณสมบัติในการระแวดระวังภัย ที่จะไม่ทำให้ตัวเองตกอยู่ในอันตราย
  • เสี่ยงเสียชีวิต
    แต่ละอาชีพย่อมมีความเสี่ยงที่แตกต่างกัน แต่สำหรับอาชีพนักสืบแล้ว อันตรายสูงสุดที่เป็นไปได้ คือความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ซึ่งอาจเกิดจากกระบวนการวางแผนที่ไม่รัดกุม, การทำงานที่ผิดพลาด, การทำให้ฝ่ายตรงข้ามเสียประโยชน์ แต่หากเป็นนักสืบที่มีประสบการณ์สูง ความเสี่ยงในจุดนี้ ก็แทบจะเท่ากับศูนย์

2.2 ทางจิตใจ

  • ถูกข่มขู่ คุกคาม
    บางครั้งอาชีพนักสืบเอกชน อาจถูกข่มขู่ คุกคามจากผู้ไม่ประสงค์ออกนาม ทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งบางครั้งมาในรูปแบบของโทรศัพท์ บางครั้งอาจมาในรูปแบบภาพถ่าย และมีหลายครั้งที่เดินทางมาข่มขู่แบบตัวต่อตัว
  • รู้สึกหดหู่ ซึมเศร้า
    นักสืบมือใหม่หลายท่าน อาจมีความรู้สึกร่วมไปกับคดีที่กำลังรับผิดชอบ อาจรู้สึกหดหู่ เศร้าเสียใจ ไปกับคุณพ่อบ้านแม่บ้าน ที่มีปัญหาชู้สาว ถูกคนรักหักหลัง หรืออาจรู้สึกเสียใจไปกับผู้ว่าจ้าง ที่ถูกเพื่อนรักโกง ซึ่งต้องพยายามรู้เท่าทันตัวเอง เพื่อลดความเสี่ยงในจุดนี้
  • เสี่ยงเสียอุดมการณ์
    อาชีพนักสืบ คุณสมบัติหนึ่งที่ต้องยึดถือเสมอ คือเรื่องความซื่อสัตย์ เก็บความลับ และอุดมการณ์ของนักสืบ ที่ต้องยึดมั่นในความถูกต้องเสมอ ต้องไม่หวั่นไหว เมื่อมีผลประโยชน์จำนวนมหาศาลของฝ่ายตรงข้ามมาเสนอ

2.3 ทางสังคม

  • ถูกเปิดเผยตัวตน
    อาชีพนักสืบ คือคนที่จะไม่สามารถใช้ชีวิตแบบคนทั่วไปได้ เพราะเสี่ยงต่อการถูกเปิดเผยตัวตนอยู่เสมอ ซึ่งรวมถึงครอบครัว ที่ไม่ควรเปิดเผยมากนักในโลกออนไลน์

3. นักสืบ ดร.เจมพล รับผิดชอบได้ทุกหน้าที่ มีวิธีจัดการความเสี่ยง

อาชีพนักสืบ คุณสมบัติสำคัญที่ต้องการนั้น มีอยู่หลากหลายข้อ ทั้งความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ ความคิดสร้างสรรค์ และรู้จักการวางแผน ซึ่งทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ ดร.เจมพลยึดมั่นเสมอมา ทำให้ได้รับความไว้ใจวางใจจากผู้ใช้บริการ มานานกว่า 30 ปี ไม่ว่าจะเป็นคดีสืบชู้สาว หรือคดีไหน ๆ มั่นใจได้ว่า งานจะประสบความสำเร็จได้ในเวลาอันรวดเร็วแน่นอน

4. สรุป

อาชีพนักสืบเอกชน เป็นอาชีพที่มีความรับผิดชอบ และความเสี่ยงในหลากหลายด้าน ตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผน, ติดตาม, ดำเนินงาน จนถึงสรุปผล แต่หากเป็นนักสืบประสบการณ์สูงอย่าง ดร.เจมพล รับรองว่า ความเสี่ยงต่าง ๆ จะน้อยลง จนแทบจะเท่ากับศูนย์แน่นอน

บทความแนะนำ

รู้หรือไม่ จ้างนักสืบ ราคาเท่าไหร่ ? และให้สืบก่อน ค่อยจ่ายเงินทีหลังได้หรือไม่ บทความนี้มีคำตอบ


Message us